Facebook จะกลับมาใช้ เทคฯ การจดจำใบหน้าอีกครั้ง มุ่งปราบโฆษณาหลอกลวง


 

Meta เตรียมนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้ากลับมาใช้อีกครั้ง หากตามแผนก็จะเป็นในช่วงธันวาคม 2024 หลังจากยกเลิกไป 3 ปี

โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อปราบปรามโฆษณาหลอกลวงที่แอบอ้างใช้รูปคนดัง (celeb-bait ads)

ระบบจะลงทะเบียนบุคคลสาธารณะ 50,000 คน เพื่อเปรียบเทียบรูปโปรไฟล์และบล็อกโฆษณาที่ใช้รูปซ้ำ

Facebook จ่อหวนกลับมาใช้ เทคฯ การจดจำใบหน้าอีกครั้ง มุ่งปราบปราม celeb-bait ads พวกแอบอ้างหน้าคนดังมาหากิน!

เป็นเวลาราวๆ 3 ปีแล้วที่ Facebook  ปิดแท็กจดจำใบหน้าออกไปจากระบบ  อย่างไรก็ตามล่าสุดมีการเปิดเผยออกมาว่า เมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta Platforms) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊กนั้น กำลังทดสอบระบบนี้อีกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อปราบปรามการหลอกลวงในแพลตฟอร์มที่ใช้รูปภาพของคนดังมาแอบอ้างให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นนั่นเอง

โดยทาง เมตา Meta จะเริ่มใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าเพื่อปราบปรามการหลอกลวงที่ใช้รูปภาพของคนดังมาแอบอ้างให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้ถือเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่า “โฆษณาที่ใช้รูปของคนดังเพื่อดึงดูดความสนใจ” (celeb-bait ads) นั่นเอง ซึ่ง เมตาพยายามจะป้องกันสิ่งเหล่านี้

ทั้งนี้ เมตา เปิดเผยว่า ในการทดสอบนั้น  มีการลงทะเบียนบุคคลสาธารณะไว้ในระบบราวๆ 50,000 คน ที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบรูปโปรไฟล์ Facebook  ซึ่งหากมีโพสต์ต่างๆเข้ามาในระบบ หรือมีรูปภาพตรงกันนั้น Meta จะเชื่อว่าโพสต์เหล่านั้น หรือ โฆษณาเหล่านั้น เป็นการหลอกลวง ระบบจะบล็อกโฆษณา

ขณะที่ทางฟากฝั่งคนดัง เซเลบริตี้ ก็จะได้การแจ้งเตือนว่ามีการลงทะเบียนไว้ด้วย ซึ่ง  ทางฝั่งคนดังที่เป็นที่รู้จักของประชาชนก็สามารถเลือกไม่เข้าร่วมได้หากพวกเขาไม่ต้องการเข้าร่วมฟีเจอร์นี้ก็ได้

ทั้งนี้ Meta วางแผนที่จะเปิดตัวการทดลองนี้ ทั่วโลกตั้งแต่เดือนธันวาคม 2024  ยกเว้นบางพื้นที่ ซึ่ง Reuters รายงานว่า พื้นที่ที่จะยังไม่ทดสอบฟีเจอร์ ได้แก่   สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ และรัฐเท็กซัสและอิลลินอยส์ของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

ปัจจุบัน เมตา มียอดผู้ใช้งานรวมทุกแอปเกือบ 3.3 พันล้านคนต่อวัน บริษัทจึงใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อบังคับใช้กฎและแนวทางด้านคอนเทนต์หลายประการ ซึ่งช่วยให้เมตาสามารถจัดการกับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับสแปมและคอนเทนต์อื่น ๆ ที่ละเมิดกฎได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/853543