เขตจตุจักรโชว์ ‘เสาไฟอัจฉริยะ’ เดินหน้าเมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ

 


ผู้ว่าฯกทม. ลงพื้นที่เขตจตุจักร ชูเสาไฟอัจฉริยะ ยกระดับความปลอดภัย - ปูทางสู่ "เมืองอัจฉริยะ" จากความร่วมมือของ ดีป้า และ สำนักงานเขตจตุจักร

รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นำทีมลงพื้นที่ซอยลาดพร้าว 10 เขตจตุจักร ติดตามโครงการติดตั้ง "เสาไฟอัจฉริยะ (Smart Pole)" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเขตจตุจักร และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เพื่อยกระดับความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมขับเคลื่อนพื้นที่เข้าสู่การเป็น "เมืองอัจฉริยะ" (Smart city) อย่างเป็นรูปธรรม


จตุจักรต้นแบบเมืองอัจฉริยะเต็มรูปแบบ
โครงการนี้ได้นำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาติดตั้งบริเวณซอยลาดพร้าว 10 และ 12 รวมถึงการเปลี่ยนโคมไฟเป็น LED Module จำนวน 52 จุด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความสะดวกสบายให้กับประชาชน

ไฮไลต์สำคัญของเสาไฟอัจฉริยะ ได้แก่:

- กล้องวงจรปิด 360 องศา พร้อม AI ตรวจจับการจราจรและบันทึกภาพย้อนหลัง

- เซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ วัดค่าฝุ่น PM2.5, PM10, อุณหภูมิ, ความชื้น, ปริมาณน้ำฝน และแจ้งเตือนเมื่อค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน

- ระบบแจ้งเหตุฉุกเฉิน ปุ่ม SOS ติดต่อเจ้าหน้าที่เขตจตุจักรได้ทันที

- ระบบไฟ LED อัจฉริยะ ตั้งเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัติ พร้อมการตรวจสอบสถานะโคมไฟ

- จอดิจิทัล LED ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและข้อมูลสำคัญ


ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้าเผยว่า โครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับภารกิจของ ดีป้า ซึ่งมุ่งเน้นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยได้ดำเนินการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างและเสาไฟอัจฉริยะที่มีระบบปฏิบัติการที่ถือเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อนพื้นที่ในเขตจตุจักรสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ อาทิ

- กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ 360 องศา ระบบกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัย สามารถรับชมภาพแบบ Real Time และบันทึกภาพย้อนหลังได้ พร้อมระบบปัญญประดิษฐ์ (AI) ตรวจนับจำนวนรถยนต์  เพื่อนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์ความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่

- เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพอากาศ วัดอุณหภูมิ ความชื้น ค่าฝุ่น PM2.5 PM10 ความกดอากาศ ปริมาณน้ำฝน ทิศทางและความเร็วลม พร้อมระบบแจ้งเตือนเมื่อพบคุณภาพอากาศเกินค่าที่กำหนด

- ระบบโทรศัพท์แจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ ปุ่มกดรับร้องเรียนหรือแจ้งเหตุฉุกเฉินที่สามารถสื่อสารกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตจตุจักรได้ทันที

- โคมไฟส่องสว่าง ระบบแสงไฟส่องสว่างบนพื้นที่ทางเท้าระหว่างซอยลาดพร้าว 10 และ 12 สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิด และตรวจสอบสถานะการทำงานของโคมไฟทุกโคมได้

- จอแสดงผลดิจิทัล จอประชาสัมพันธ์ดิจิทัลแบบ LED เพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่สำคัญให้แก่ประชาชนในพื้นที่

ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดจากเสาไฟอัจฉริยะจะถูกเก็บไว้บน Cloud และรายงานให้กับสำนักงานเขตจตุจักร เพื่อให้สำนักงานเขตสามารถนำไปวิเคราะห์ ปรับปรุง และวางแผนพัฒนาพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่อย่างยั่งยืนต่อไป

“เราหวังว่า จตุจักร จะเป็นต้นแบบให้กับเขตอื่น ๆ ในกรุงเทพฯ และขยายไปทั่วประเทศ เพื่อสร้างเมืองที่ปลอดภัย น่าอยู่ และยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ” ดร.ภาสกร กล่าวทิ้งท้าย

แหล่งข้อมูล

https://www.posttoday.com/smart-city/720977